• HOME
  • UP TO DATE
  • HOW TO
  • INSIGHT
  • STORIES
  • DIGITAL ASSET
  • FIN COLUMN
    • FIN X
Reading: “มาม่า” จากนวัตกรรมด้านอาหาร สู่มีมชี้วัดด้าน “การเงิน”
Share
Aa
The FinVerse
  • HOME
  • UP TO DATE
  • HOW TO
  • INSIGHT
  • STORIES
  • DIGITAL ASSET
  • FIN COLUMN
Search
  • HOME
  • UP TO DATE
  • HOW TO
  • INSIGHT
  • STORIES
  • DIGITAL ASSET
  • FIN COLUMN
    • FIN X
Stories

“มาม่า” จากนวัตกรรมด้านอาหาร สู่มีมชี้วัดด้าน “การเงิน”

sailwithme Published March 7, 2023 21 Views
Share
1 Min Read

“ช่วงนี้เป็นไงบ้าง?”

“กินแต่มาม่าว่ะ”

นี่คือคำตอบแบบสั้น ๆ แต่ทรงพลัง ของพี่น้องชาวไทย (และต่างชาติ) หลายคนที่อยากจะสื่อว่า ช่วงนี้เงินในบัญชีร่อยหรอก็เลยต้องกินอยู่อย่างประหยัด ด้วยการมีบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเป็นที่พึ่งพาในการ #saveเงินในบัญชี ดังนั้นถ้าใครจะชวนเพื่อนคนนี้ไปเที่ยวไหน อย่าได้ฝัน

หากใครรู้สึกซาบซึ้งในนวัตกรรมชิ้นนี้ ก็ขอให้ท่องจำขึ้นใจถึงชื่อบิดาแห่งวงการ ที่เป็นชาวญี่ปุ่นมีนามว่า ‘โมโมฟูกุ อันโด’ (Momofuku Ando)

กว่าจะมาเป็นนวัตกรรมที่รสชาติถูกปาก จัดเตรียมง่าย และที่สำคัญคือราคาไม่แพง ต้องผ่านช่วงเวลาอันโหดร้ายก่อน ซึ่งก็คือช่วงหลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง แล้วอย่างที่รู้กันดีว่าญี่ปุ่นเป็นผู้พ่ายแพ้สงคราม เลยส่งผลให้เกิดวิกฤต โดยเฉพาะด้านคลังเก็บอาหาร

นายโมโมฟูกุพบว่าเสบียงที่สหรัฐฯส่งมาช่วย ได้แก่ แป้งข้าวสาลี ซึ่งทางรัฐบาลญี่ปุ่นสนับสนุนให้ใช้ทำขนมปังนั้นไม่ค่อยได้รับความนิยมเท่าไหร่นัก

แต่ในทางตรงกันข้าม ผู้คนกลับยอมเข้าคิวเรียงรายเป็นหางว่าว หิวก็หิว ยืนรอเพื่อที่จะได้กินราเมนร้อน ๆ

ดังนั้นนายโมโมฟูกุจึงเกิดไอเดียว่า ควรจะใช้แป้งสาลีพวกนั้นมาทำเป็นเส้นหมี่ แต่ก็ถูกปัดตกเพราะอุตสาหกรรมบะหมี่ในตอนนั้นดูไม่มีกำลังมากพอที่จะเลี้ยงคนทั้งประเทศได้

แต่ด้วยเหตุนี้เอง จึงทำให้นายโมโมฟูกุจับมาพลิกแพลงเองต่อ

มีเรื่องเล่าปากต่อปากว่า อยู่มาวันหนึ่งโดยที่ไม่ได้ตั้งใจ เขานำบะหมี่ลงไปทอดแบบรวดเร็วบนน้ำมันเทมปุระที่กำลังร้อนของภรรยาที่กำลังเตรียมทำข้าวเย็น เลยค้นพบวิธีให้กลายเป็น “บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป” ได้ แล้วหลังจากนั้นในปี ค.ศ. 1958 ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ตัวสินค้าได้ออกสู่ตลาด ก็กลายเป็นสินค้าสุดฮิตในทันควัน

เพียงเวลาไม่นาน นวัตกรรมชิ้นนี้ก็ได้เป็นที่รักของคนจากทั่วทุกมุมโลก จนถึงขนาดที่ว่ากลายเป็นดังตัวแทนของสกุลเงินที่นักโทษในคุกของสหรัฐฯเอาไว้ใช้แลกเปลี่ยนสิ่งของ จนถึงการเป็นอาหารที่สามารถช่วย ‘ภาวะความความหิวโหยของโลก’ (Global hunger)

ความรักในบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปของคนไทยก็ไม่ได้น้อยไปกว่าใคร เพราะสถิติล่าสุดของปี 2022 จากสมาคมบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปของโลก (WINA) พบว่าประเทศไทยมีความต้องการบริโภคสูงถึงอันดับ 9 เลย

ดังนั้นถึงแม้ประเทศไทยยังไม่เคยไปบอลโลก แต่ก็ยังมีความรักในบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่ถึงกับติด Top 10 ให้เป็นความภาคภูมิใจ!

ในเวลาเดียวกัน การมาของอินเทอร์เน็ต สมาร์ตโฟน และโซเชียลมีเดีย ก่อให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า ‘มีม’ ที่กลายมาเป็นสัญลักษณ์ของการล้อเลียนอะไรหลาย ๆ อย่าง จึงทำให้บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปกลายมาเป็นมีมสุดนิยม ที่ถูกเอามาเปรียบในเชิงขำขัน ถึงคนที่กำลังประหยัดเงิน ด้วยคุณสมบัติที่ได้กล่าวไปในขั้นต้นคือ รสชาติถูกปาก จัดเตรียมง่าย และราคาไม่แพง

โดยเฉพาะความ ‘จัดเตรียมง่าย’ และ ‘ราคาไม่แพง’ ได้ถูกสะท้อนออกมาเป็นภาพลักษณ์ของคนที่ใช้ไลฟ์สไตล์แบบกินไว้เพื่อ ‘ยังชีพ’ แล้วด้วยความที่มีมนั้นเป็นหนึ่งในสิ่งที่นิยมใช้ของชาวเน็ต ก็ยิ่งทำภาพลักษณ์นี้ถูกผูกให้มีความเป็นมีมล้อไปในตัวโดยปริยาย

You Might Also Like

ใจเย็นนะพ่อนักรัก! ระวังโดนแก๊งหลอกให้รักก่อนเงินหมดตัว

The Christmas Economy เศรษฐกิจแห่งวันคริสมาสต์

ความเหลื่อมล้ำทางการเงิน สะท้อนสู่ความยากจนบนท้องถนน 

เปิดหลักการดำเนินธุรกิจให้สำเร็จ “ระดับโลก” ของ Bruce Cheng ผู้ก่อตั้ง DELTA

Share this Article
Facebook Twitter Copy Link
Previous Article “Don’t Catch a Falling Knife” อย่าจับมีดที่กำลังหล่นลงมา!
Next Article The Christmas Economy เศรษฐกิจแห่งวันคริสมาสต์
FOLLOW US
Facebook Youtube Tiktok

© The Finverse. Oops Network Company. All Rights Reserved.

Removed from reading list

Undo
Welcome Back!

Sign in to your account

Lost your password?