• HOME
  • UP TO DATE
  • HOW TO
  • INSIGHT
  • STORIES
  • DIGITAL ASSET
  • FIN COLUMN
    • FIN X
Reading: The Christmas Economy เศรษฐกิจแห่งวันคริสมาสต์
Share
Aa
The FinVerse
  • HOME
  • UP TO DATE
  • HOW TO
  • INSIGHT
  • STORIES
  • DIGITAL ASSET
  • FIN COLUMN
Search
  • HOME
  • UP TO DATE
  • HOW TO
  • INSIGHT
  • STORIES
  • DIGITAL ASSET
  • FIN COLUMN
    • FIN X
Stories

The Christmas Economy เศรษฐกิจแห่งวันคริสมาสต์

sailwithme Published March 7, 2023 23 Views
Share
1 Min Read

ถึงแม้ผู้คนคาดหวังว่าปีนี้จะเป็นปีคริสต์มาสที่ดี แต่ด้วยความกังวลจากเงินเฟ้อก็อาจมีการรัดเข็มขัดด้านค่าใช้จ่ายบ้างตามที่ทาง Financial Times ได้รายงาน

อย่างไรก็ตาม คริสต์มาสยังคงถือว่าเป็นเทศกาลที่มอบบรรยากาศอันงดงามให้แก่หลายครอบครัวทั่วโลก และเป็นหนึ่งในช่วงเวลาสำคัญที่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้

หรืออย่างน้อย ๆ ก็จากมุมของผู้ประกอบการ เพราะสำหรับผู้บริโภคแล้ว ดูจะกระตุ้นเงินในบัญชีให้ออกไวมากกว่าเข้ารึเปล่า? ​

ในความคิดของคนทั่วไป เชื่อว่าหลายคนน่าจะมองว่าประเทศอย่างสหรัฐฯ อังกฤษ หรือโซนยุโรป น่าจะอินกับช่วงวันคริสต์มาสมากที่สุด ดังนั้นจึงเป็นกลุ่มที่น่าจะใช้จ่ายเงินค่อนข้างเยอะในช่วงเทศกาลวันคริสต์มาส

แต่ถ้าดูตามสถิติพร้อมแยกออกมาเป็นสามหมวดหมู่ ได้แก่ อาหารวันคริสต์มาส ของตกแต่งวันคริสต์มาส และของขวัญวันคริสต์มาส เชื่อว่าต้องแปลกใจกันแน่นอน

โดยทาง World Remit ได้แสดงสถิติของปี 2022 ให้เห็น ว่าถ้าเป็นหมวดหมู่อาหารวันคริสต์มาส ประเทศที่ยอมเปย์มากที่สุด คือประเทศกานา รองลงมาคือประเทศยูกันดา ตามด้วยประเทศฟิลิปปินส์ (ในสถิติไม่ได้เทียบว่าใครซื้อของ “แพง” ที่สุด หรือ “ควักเงิน” มากที่สุด แต่ดูตามการที่ผู้คนนำเงินออกมาใช้จ่ายเพื่อวันคริสต์มาส ในแบบรายได้ต่อหัวหรือต่อครัวเรือน เท่าที่ตนหรือครอบครัวมีใช้)

ในด้านของตกแต่งวันคริสต์มาส อันดับหนึ่งคือสาธารณรัฐโดมินิกัน อันดับสองได้แก่ประเทศโคลัมเบีย ตามด้วยประเทศกัวเตมาลา

ส่วนหมวดหมู่ที่สามหรือของขวัญวันคริสต์มาส อันดับหนึ่งคือประเทศสหรัฐฯ รองลงมาเป็นประเทศเยอรมัน ตามด้วยสาธารณรัฐหมู่เกาะฟิจิ​

ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็มีนักเศรษฐศาสตร์ออกมาโต้ ว่าในทางกลับกัน วันคริสต์มาสไม่ได้ช่วยเศรษฐกิจเลย แต่เป็น “การสูญเปล่าทางเศรษฐกิจ” (deadweight loss)

โดยได้ให้เหตุผล ว่าการกระทำอย่างการให้ของขวัญ ในมุมมองทางเศรษฐกิจนั้น “ไร้ประสิทธิภาพ” เพราะผู้ให้มักจะไม่รู้ว่าผู้รับนั้นอยากได้อะไร แล้วพอมองตามตรรกะ การมอบเงินโดยตรงดูจะเหมาะสมมากว่าการนั่งเดาใจว่าอีกฝ่ายอยากได้อะไรกันแน่

ดังนั้นพอมองในมุมกว้างอย่างระดับประเทศ (หรือระดับโลก) ยิ่งทำให้ดูเป็นการกระตุ้นความสูญเปล่าทางเศรษฐกิจมากกว่า

แน่นอนว่าชุดความคิดนี้ ย่อมต้องมีคนออกมาโต้กลับ เช่น บางคนเชื่อว่าสปิริตของการให้ของขวัญไม่สามารถมองมุมแคบ ๆ ได้แค่จากการ “แลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ”

แต่เป็นการให้ความรู้สึก “warm glow” หรือการที่ผู้ให้รู้สึกยินดีที่ได้ทำหน้าที่อะไรบางอย่างแล้ว และในส่วนของผู้ที่ได้รับ ก็อาจเป็นการได้แนะนำให้รู้จักกับอะไรใหม่ ๆ ที่ตนไม่เคยนึกถึงมาก่อน

ไม่ว่าจะมองจากมุมอะไร ถ้ามานั่งโต้กันตรง ๆ โดยมองจากผู้บริโภคกับเศรษฐกิจเป็นหลัก ก็ดูจะซับซ้อนมากกว่าที่คิด

แต่ถ้าจากฝั่งผู้ประกอบการ แน่นอนว่าคงเป็นเรื่องที่ดีเพราะได้ขายสินค้าหรือการบริการ อย่างไรก็ตามแต่ ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าเทศกาลใหญ่ ๆ อย่างคริสต์มาสมีความสำคัญอย่างมากต่อหลายประเทศทั่วโลกอย่างแน่นอน

You Might Also Like

ใจเย็นนะพ่อนักรัก! ระวังโดนแก๊งหลอกให้รักก่อนเงินหมดตัว

“มาม่า” จากนวัตกรรมด้านอาหาร สู่มีมชี้วัดด้าน “การเงิน”

ความเหลื่อมล้ำทางการเงิน สะท้อนสู่ความยากจนบนท้องถนน 

เปิดหลักการดำเนินธุรกิจให้สำเร็จ “ระดับโลก” ของ Bruce Cheng ผู้ก่อตั้ง DELTA

Share this Article
Facebook Twitter Copy Link
Previous Article “มาม่า” จากนวัตกรรมด้านอาหาร สู่มีมชี้วัดด้าน “การเงิน”
Next Article ทำไม? ถึงยิ่ง ‘เทรด’ ยิ่ง ‘แพ้’
FOLLOW US
Facebook Youtube Tiktok

© The Finverse. Oops Network Company. All Rights Reserved.

Removed from reading list

Undo
Welcome Back!

Sign in to your account

Lost your password?