หลังจากที่ทาง SABUY ประกาศไม่นานมานี้ ว่าปี 2566 รายได้ 20,000 ล้านบาทต้องมา ก็ดูจะไม่รอช้า ติดเทอร์โบขึ้นจรวดทะยานออกจากดาวโลกทันที
นำโดยสามแม่ทัพใหญ่ เริ่มจากฝั่งซ้าย คุณวิรัช มรกตกาล, ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มงานพาณิชย์ ฝั่งขวา คุณณรงค์ชัย ว่องธนะวิโมกษ์, ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มงานบัญชีและการเงิน และตรงกลางที่น่าจะคุ้นหน้าคุ้นตากันเป็นอย่างดี คุณชูเกียรติ รุจนพรพจี, ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
7 ขุมพลังแห่ง SABUY ที่มาขับเคลื่อนธุรกิจไปข้างหน้า
ปัจจุบันดูจะแลนด์ลงบนดวงจันทร์อย่างสวยงาม รายล้อมด้วยน้องเอเลี่ยนตัวเขียวออกมายินดีถึงรายได้ไตรมาส 1/2566 เติบโตกว่า 203% เป็น 2,533 ล้านบาท ด้วยกำไรที่ 55% หรือ 167 ล้านบาท และกำไรสทุธิปกติ (Normalized Core Profit) อย่ทูี่ 215.3 ล้านบาท โดยรายได้นั้นมาจาก 6 กลุ่มเครือธุรกิจ (คลิกตรงนี้เพื่ออ่านบทความก่อนหน้า) ได้แก่:
– กลุ่ม Connext 58.2%
– กลุ่ม Enterprise 31.3%
– กลุ่ม Payment 6.4%
– กลุ่ม Financial Inclusion 3.6%
– กลุ่ม Innotainment 0.5%
– กลุ่ม Venture: n/a

และในครั้งนี้ ได้มาขยายความเข้าใจถึง Ecosystem ของ SABUY ที่หลายคนคงน่าจะเห็นภาพเยอะขึ้นแล้ว แต่อาจจะยังสงสัยว่า “แล้วนำประโยชน์อะไรกลับมา?” โดยได้หยิบยก ขุมพลังทั้ง 7 หรือ “The 7 Powers of SABUY Ecosytem” เพื่อสร้างความกระจ่างแก่บรรดา ลูกค้า คู่ค้า นักลงทุน สื่อมวลชน มากขึ้น
▸ Power of Synergies and Integration
การหล่อหลอม 3 จุดสำคัญของธุรกิจ ได้แก่ Sales, Cost และ Product เข้าด้วยกันให้เกิดพลังและสร้างประสบการณ์ที่ “ราบรื่น”
1. ฝ่าย Sale สามารถนำเสนอ goods & services ได้หลากหลาย ในรูปแบบ “Bundle” หรือการพ่วงเข้าด้วยกัน เพื่ิอมอบประสบการณ์ที่ไม่ยุ่งยากให้แก่ลูกค้า
2. ปู Cost เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพเต็มที่
3. ลด Cost เพิ่ม Sale โดยการเจาะไปที่แต่ละจุด ได้แก่ Machine, Solutions, Platform และ Financial Services ร้อยเรียงให้เกิดผลประโยชน์สูงสุด

▸ Power of Partnership
การพัฒนาความสัมพันธ์ที่ดีอย่างต่อเนื่องกับพาร์ทเนอร์ ไม่ว่าจะเป็น ไปรษณีย์ไทย “POST SABUY“, AIS & TRUE ใช้ช่องทางเป็นจุดชำระเงิน รวมกับการทำแคมเปญการตลาดเป็นระยะ, Com7 หรือ Synnex ด้วยการรวมโปรดักส์ เช่น SABUY SURE และอื่น ๆ อีกมากมาย

▸ Power of Coverage
มี Touchpoint หลายจุด เข้าสู่ Customer ได้เยอะ เพื่อขานรับเป้าหมายในการก้าวสู่การเป็น Data company ที่ชัดเจนมากขึ้น

▸ Power of Agility
การมี Ecosystem ที่กว้าง หากมีวิกฤตก็สามารถปรับตัวได้เร็วกว่า ซึ่งในแต่ละไตรมาสสามารถปรับเปลี่ยนโฟกัส และโยก resource ได้รวดเร็ว ตอบโจทย์บริษัทยุคใหม่ที่มีความ “Agile”

▸ Power of Capitalizaiton
การใช้ประโยชน์จาก “ทุน” ต่าง ๆ ให้มีประสิธิภาพคืนกลับมาที่บริษัท เช่น SABUY SPEED อยู่ในแผนหา strategic partner และ IPO ใน 3 ปี รวมไปถึงการสามารถเอาเงินลงทุนที่ลงไปออกมาก่อน

▸ Power of Consolidation
SABUY โตได้อย่างต่อเนื่องจากสิ่งที่ทำ ซึ่งวางแผนทุกอย่างล่วงหน้าไว้แล้ว สิ่งที่เกิดขึ้นปีนี้มาจากการดำเนินงานปีแล้วหรือปีก่อน ๆ ไม่ใช่แค่จากวันนี้และพรุ่งนี้เห็นผล
โดยได้นำเสนอภาพนี้ให้ชัดเจนผ่านเลโก้ (building block) เป็นแต่ละชั้นที่สร้างขึ้นมาให้เกิดความแน่น (consolidate) มากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเริ่มวางฐานจาก Payments – Enterprise – Connext ต่อขึ้นมาที่ Financial Inclusion และปัจจุบันมี Innotainment เป็นพระเอกของปีนี้

▸ Power of Regional Expansion
สร้างการเติบโตด้วยการไปต่างประเทศมากขึ้น เน้นใช้ GHL, BUZZBEES และ ASPHERE (+ SABUY SPEED) ไปสร้างประโยชน์ในแต่ละประเทศที่พันธมิตรได้เข้าไปแล้ว

ความท้าทายที่ต้องก้าวข้าม
ทั้งนี้ทั้งนั้น ทางคุณณรงค์ชัย ก็ออกมายอมรับตรง ๆ ว่าถ้าหากเทียบไตรมาสนี้กับไตรมาสก่อนหน้า Core Profit ลดลงมาที่ 215 ล้านบาท จาก 231 ล้านบาท เพราะเป็นไตรมาสที่ค่อนข้างยาก หลาย ๆ บริษัทที่ประกาศออกมาก็ตึงมากไม่แพ้กัน
ซึ่งก็ได้กล่าวว่าถ้าเทียบกับตอนมาใหม่ ๆ จาก 50 กว่าล้านมาสู่ยอดปัจจุบันก็เป็นที่พึงพอใจ แต่ก็ไม่ได้แฮปปี้ 100% เพราะมีความท้าทายที่ค่อนข้างหนัก โดยการแยกออกมาเป็น 3 ปัจจัยด้วยกัน:
1. Revenue uplift (ดันรายได้): เรียกแต่ละ Business Unit มานั่งไล่ตัวเลข ปิดช่องว่างเพื่อเข้าเป้ารายได้ให้ได้
2. Expenses Optimization (บริหารค่าใช้จ่ายให้มีประสิทธิภาพ): ควบคุมค่าใช้จ่ายให้ได้ 40-50 ล้านต่อไตรมาส
3. Business Restructuring (ปรับฐานธุรกิจ): ปรับโครงสร้างกล่มธุรกิจ ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยใช้ SBNEXT, PTECH และ AS เป็นแกนของ 3 ธุรกิจ หลัก (Connext, Enterprise & Life และ InnoTainment)
โดยอาจมีการขายบางส่วนของธุรกิจ (เช่น SABUY SPEED) ให้กับพันธมิตรเพื่อสร้างมูลค่าให้สูงขึ้นตลอด จนการขายธุรกิจบางส่วนที่ไม่สามารถ Synergy กับ SABUY Ecosystem ได้
Next Planet: ดาวอังคาร (?)
ก่อนจะปิดท้าย ทาง SABUY ก็มาแย้ม ๆ ว่า ปีนี้บริษัทจะลงทุนเพิ่มอีก 2 – 3 ดีล ใช้เงินทุนราว 5,000 ล้านบาท ส่วนแหล่งเงินทุนจะมาจากการขายสินทรัพย์บางส่วน ของ SABUY SPEED ที่ถือหุ้นในสัดส่วน 82% และขายที่ดินของ บริษัท สบาย คอนเน็กซ์ เทคจำกัด (มหาชน) หรือ SBNEXT (เดิมคือ บมจ.เธียรสุรัตน์ หรือ TSR) มีมูลค่า 1,000 ล้านบาท และแหล่งเงินทุนอื่น ๆ
เป้าหมายต่อจากดวงจันทร์ คงจะเป็น “ดาวอังคาร” ทั้งนี้คงต้องมารอติดตามกันต่อว่าการเดินทางของจรวด SABUY เมื่อไปเยือนดาวอังคาร จะมีอะไรมาอัพเดทให้พวกเราฟังกันบ้าง!